ซื้อประกันรถยนต์ เลือกทำประกันรถยนต์แบบไหนดี
ก่อนจะซื้อรถสักคันสิ่งที่คนมีรถไม่รู้ไม่ได้คือเรื่องของประกันรถยนต์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประกัน 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร เบี้ยประกันต่อปีต่างกันมากน้อยแค่ไหน และควรเลือกทำประกันรถยนต์แบบไหนดี
ประกันภัยรถยนต์ คืออะไร ต่างอย่างไรกับ พ.ร.บ.ประกันภัย
สิ่งหนึ่งที่คนมีรถต้องรู้และรถทุกคันต้องมีเหมือนกันคือ ประกันภัยรถยนต์ เหตุผลหลักก็เพื่อคุ้มครองคนใช้รถใช้ถนน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าอุบัติเหตุทางจราจรเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา กฎหมายจึงกำหนดไว้ว่าให้รถทุกคันต้องมี ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับ เพื่อรองรับความเสี่ยงจากอุบัติเหตุบนถนนและช่วยเหลือประชาชนทั่วไป หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ไม่ว่าจะคนขับ คนโดยสาร หรือคนเดินถนนสัญจรไปมาก็ต้องได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.รถยนต์
เบี้ยพ.ร.บ ต้องเสียเท่าไหร่
เมื่อรู้ว่ากฎหมายบังคับให้ทำประกันภัย คนมีรถทุกคนจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเบี้ยพ.ร.บ.ในแต่ละปี โดยสามารถเช็คเบี้ยประกันกับโลตัสได้ทันที ซึ่งเบี้ยพ.ร.บ.นี้จะคำนวณจากประเภทรถยนต์และลักษณะการใช้รถเป็นหลักตามอัตราเบี้ยประกันภัยคงที่โดยรถยนต์หรือรถเก๋งนั่งไม่เกิน 7 คนเริ่มต้นที่ 600 บาทต่อปี
ที่สำคัญหลักฐานการทำประกัน พ.ร.บ. ยังจำเป็นต่อการยื่นภาษีรถยนต์ประจำทุกปีหรืออย่างที่เรามักเห็นเป็นป้ายแปะอยู่หน้ารถ การต่อภาษีรถยนต์จึงเท่ากับการต่อทะเบียนรถยนต์เพื่อให้สามารถตรวจสอบเหตุที่เกินจากการใช้รถได้ ซึ่งการต่ออายุภาษีสามารถเลือกทำล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุได้ 90 วันไม่อย่างนั้นแล้วอาจจะต้องเสียค่าปรับที่ตามมา ซึ่งสามารถต่ออายุภาษีล่วงหน้าได้ที่ กรมการขนส่งทางบก พร้อมเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม คือ
• สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก
• หลักฐานการทำพ.ร.บ รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ
มีประกันพ.ร.บ แล้วยังต้องทำประกันรถยนต์อีกทำไม
เมื่อเข้าใจถึงข้อบังคับของการทำประกันพ.ร.บ. ดีแล้ว คนใช้รถหลายคนอาจมีคำถามต่อว่าทำไมยังต้องประกันรถยนต์เพิ่มอีกให้เปลืองเงิน ที่จริงแล้วประกันพ.ร.บ. และ ประกันรถยนต์ มีรายละเอียดความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนี้
• ประกันพ.ร.บ ให้ความคุ้มครองหลักเรื่องค่าเสียหายส่วนแรก คือ ค่ารักษาพยาบาลและคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร และ ค่าเสียส่วนเกิน คือ ค่ารักษาพยาบาลที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น คุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร และ ค่าชดเชยต่อวัน
• ประกันรถยนต์ ให้ความคุ้มครองเสริมเรื่องค่าเสียหายต่อบุคคลภายนอกรวมถึงทรัพย์สิน ความเสียหายต่อรถยนต์ที่ทำประกันไว้ รวมถึงความคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น อุบัติเหตุส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาล การประกันตัวผู้ขับขี่ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแผนประกันที่ทำไว้
ประกันรถยนต์ชั้น 1 เพิ่มความคุ้มครองขึ้นอย่างไร
ขึ้นชื่อว่าประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ย่อมหมายถึงการทำประกันที่ครอบคลุมสูงสุด เพื่อเพิ่มความคุ้มครองประคองใจให้คนรักรถอย่างรอบด้าน อย่างที่เรารู้แล้วว่า ประกัน พ.ร.บ. ภาคบังคับจะคุ้มครองส่วนของค่ารักษา และกรณีเสียชีวิต ซึ่งสิ่งที่ประกันรถยนต์ชั้น 1 มีเพิ่มให้คือความคุ้มครองต่อตัวรถ ต่อบุคคลภายนอก และความเสียหายเพิ่มเติม ดังนี้
ประกันรถยนต์ชั้น 1 ไม่มีคู่กรณีก็คุ้มครอง
เพราะอุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อ เช่นขับรถเฉี่ยวกำแพง เลี้ยวผิดแล้วกระจกรถหัก หรือชนเข้ากับสิ่งของโดยไม่ต้องใจ เรื่องไม่คาดคิดเหล่านี้ล้วนทำให้คนรักรถปวดใจ ซึ่งหากทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ไว้จะสามารถเคลมประกันเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ตามรายละเอียดของแผนประกันนั้นๆ ทั้งยังสามารถเลือกซ่อมศูนย์ หรือซ่อมอู่รถที่มีคุณภาพ
รถเสียหายก็มีความคุ้มครอง
แม้ไม่เกิดอุบัติเหตุบนถนน แต่หากจอดรถไว้แล้วรถหาย ไฟไหม้ เสียหายจากเหตุสุดวิสัย เหล่านี้ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ก็คุ้มครองครอบคลุมทั้งต่อตัวรถ อุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดอยู่ประจำกับตัวรถยนต์
เพิ่มความคุ้มครองคนขับและคนนั่ง
นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาล ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 มักมาพร้อมกับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นกับคนขับ เช่น กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ซึ่งคุ้มครองรวมถึงผู้โดยสารที่นั่งมาด้วยกัน รวมทั้งการประกันตัวผู้ขับขี่
ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 กับโลตัส ทำไมถึงคุ้มกว่า
เมื่อตัดสินใจเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หลายคนก็ย่อมต้องการหาตัวช่วยเปรียบเทียบราคาประกันรถยนต์ ที่โลตัสใกล้บ้านที่มีศูนย์บริการพร้อมให้คำปรึกษาบริการกว่า 200 สาขา ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ
สิ่งสำคัญของการเปรียบเทียบเบี้ยประกัน ต้องไม่ลืมคำนึงถึงรูปแบบความคุ้มครองว่าครอบคลุมมากแค่ไหน ความเสี่ยง และลักษณะการใช้รถของเราเองเพื่อชั่งน้ำหนักประกอบการตัดสินใจ โดยสามารถสอบถามเรื่องการทำประกันรถยนต์ โลตัสพร้อมให้คำปรึกษาทุกเรื่องประกันภัยรถยนต์